วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)




คณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 ของไทย

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีคนที่ 23
หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 55คณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 (11 มีนาคม 2548 - 24 กุมภาพันธ์ 2549)

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 11 มีนาคม 2548 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี
(จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี) รัฐมนตรีว่าการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
รัฐมนตรี
ออกจากตำแหน่ง
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย
แต่งตั้งเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 ของไทย
ตำแหน่ง รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 มีพระบรมราชโองการ
ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกตั้งใหม่ ไทยรักไทย
4 เมษายน พ.ศ. 2549 19 กันยายน พ.ศ. 2549 รักษาการ(ทั้งคณะ)เพื่อรอการสรรหาคณะรัฐมนตรีที่เหมาะสม
จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์รัฐประหารยึดอำนาจ ไทยรักไทย
รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายจาตุรนต์ ฉายแสง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมว.ศึกษาธิการ ไทยรักไทย
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายพินิจ จารุสมบัติ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมว.สาธารณสุข ไทยรักไทย
นายวิษณุ เครืองาม 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 24 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ลาออกจากตำแหน่ง -
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายสุชัย เจริญรัตนกุล 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงกลาโหม พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงการคลัง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมว.พาณิชย์ ไทยรักไทย
นายทนง พิทยะ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 -
นายวราเทพ รัตนากร 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายไชยยศ สะสมทรัพย์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงการต่างประเทศ นายกันตธีร์ ศุภมงคล 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมช.พาณิชย์ ไทยรักไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมว.แรงงาน ไทยรักไทย
นายประชา มาลีนนท์ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ นายประชา มาลีนนท์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมว.การท่องเที่ยวฯ ไทยรักไทย
นายวัฒนา เมืองสุข 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายเนวิน ชิดชอบ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมต.สำนักนายกฯ ไทยรักไทย
นายอดิศร เพียงเกษ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็นรองนายกฯ ควบ รมว.อุตสาหกรรม ไทยรักไทย
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายภูมิธรรม เวชยชัย 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายอดิศร เพียงเกษ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมช.เกษตรฯ ไทยรักไทย
พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 -
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ นายยงยุทธ ติยะไพรัช 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงไอซีที นายสุวิทย์ คุณกิตติ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไทยรักไทย
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ลาออกจากตำแหน่ง ไทยรักไทย
กระทรวงพาณิชย์ นายทนง พิทยะ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมว.การคลัง -
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ลาออกจากตำแหน่ง ไทยรักไทย
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงพลังงาน นายวิเศษ จูภิบาล 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงมหาดไทย พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็นรองนายกฯ ควบ รมว.ยุติธรรม ไทยรักไทย
พลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 -
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายสมชาย สุนทรวัฒน์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงยุติธรรม นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็นรองนายกฯ ไทยรักไทย
พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงแรงงาน นายสรอรรถ กลิ่นประทุม 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมว.ไอซีที ไทยรักไทย
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงวัฒนธรรม นางอุไรวรรณ เทียนทอง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ลาออกจากตำแหน่ง ไทยรักไทย
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นายกร ทัพพะรังสี 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไทยรักไทย
นายประวิช รัตนเพียร 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 -
กระทรวงศึกษาธิการ นายอดิศัย โพธารามิก 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไทยรักไทย
จาตุรนต์ ฉายแสง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายรุ่ง แก้วแดง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 -
กระทรวงสาธารณสุข นายสุชัย เจริญรัตนกุล 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็นรองนายกฯ ไทยรักไทย
นายพินิจ จารุสมบัติ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
นายอนุทิน ชาญวีรกูล 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม นายวัฒนา เมืองสุข 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ไปเป็น รมว.การพัฒนาสังคมฯ ไทยรักไทย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไทยรักไทย

[แก้] การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี
วันที่ 6 กรกฎาคม 2548 นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
วันที่ 2 สิงหาคม 2548 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
1.นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
2.พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถติย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
3.นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
4.นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
5.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
6.นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
7.นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
8.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
9.นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
10.นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
11.นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
12.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
13.นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
14.นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
15.นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
16.นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
2. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
1.นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
3.พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
4.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
5.นายเนวิน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6.นายทนง พิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
7.นายประชา มาลีนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
8.นายวัฒนา เมืองสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
9.นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
10.นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
11.พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
12.นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
13.นายปรีชา เลาพงศ์ชนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
14.พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
15.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
16.นายประวิช รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
17.นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ 4 สิงหาคม 2548 มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการ
1.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
3.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
4.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
6.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
7.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
8.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
9.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
10.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
11.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้รักษาราชการแทน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
วันที่ 31 ตุลาคม 2548 นายสุชัย เจริญรัตนกุล ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 31 ตุลาคม 2548 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
1.นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
2. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
1.นายสุชัย เจริญรัตนกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
2.นายพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549 นางอุไรวรรณ เทียนทอง ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
1.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้รักษาราชการแทน รองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) , รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ)
2.กระทรวงวัฒนธรรม ผู้รักษาราชการแทน รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) , รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
วันที่ 24 มิถุนายน 2549 นายวิษณุ เครืองาม ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
[แก้] นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล
[แก้] เศรษฐกิจ
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป OTOP)
กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้ชาวบ้านนำไปลงทุนทำงานสร้างรายได้
การเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรี (FTA) กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
การเซ็นสัญญาเขตการค้าเสรีกับ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย
ลดหนี้สาธารณะ จาก 57% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี พ.ศ. 2544 เหลือ 41% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2549[1][2]
[แก้] สาธารณสุข
โครงการ สามสิบบาทรักษาทุกโรค
[แก้] การเกษตร
โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย เป็นเวลา 3 ปี
โครงการโคล้านครอบครัว ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน
นโยบายปล่อยราคายางพาราให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคายางพาราในสมัยนั้น เพิ่มขึ้นจาก 18 บาท ขึ้นสูงสุดเป็น 80 บาท และลดต่ำลงเหลือ 50-55 บาท มีนักวิเคราะห์กล่าวว่า การปล่อยราคา มีผลดีต่อราคา มากกว่าการแทรกแซง [3]
โครงการกล้ายางพารา สืบเนื่องจากราคายางพาราที่สูงขึ้น นายเนวิน ชิดชอบ จึงเสนอโครงการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี โดยนำยางพาราจากภาคใต้ ไปปลูกที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพืช จำกัด ได้รับสัมปทานในการจัดหากล้ายาง โดยหลังจาก รัฐประหาร 19 กันยายน มีข้อกล่าวหาว่า กล้ายางในโครงการไม่ได้คุณภาพ ซึ่ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ[4]
[แก้] การจัดงานและการท่องเที่ยว
เป็นเจ้าภาพจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในส่วนรัฐพิธี และได้กราบบังคมทูลเชิญ พระราชอาคันตุกะ เพื่อทรงร่วมถวายพระพรในการนี้ ในนามรัฐบาลไทย
จัดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ในนามรัฐบาลไทย
โครงการสวนสัตว์กลางคืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี [5]
เตรียมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในนามรัฐบาลไทย จนเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดให้เข้าชม ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน
[แก้] อื่นๆ
ทุนการศึกษาให้นักเรียนต่างจังหวัด มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ โดยใช้รายได้จากการจำหน่ายสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว (โอดอส ODOS)
ปราบปรามยาเสพติด และผู้มีอิทธิพล [6]
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้จัดสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปิดใช้บริการ ก่อนการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และ โครงการจัดตั้งจังหวัดสุวรรณภูมิมหานคร เพื่อสร้างเมืองใหม่ ในบริเวณท่าอากาศยาน
นโยบายต่อต้านการคอรัปชั่น
ตู้ไปรษณีย์ นายกฯ (เช่น กรณียายไฮ ขันจันทา เรียกร้องที่ดินคืนจากการสร้างฝาย เป็นเวลา 20 ปี จนได้รับที่คืน)
รายการ "นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน" ทุกเช้าวันเสาร์ เวลา 08.00-09.00 น. ทาง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เครือข่ายทั่วประเทศ
[แก้] การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป และมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อ

แต่เนื่องจาก การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขัน ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงต้องรักษาการต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งประกาศว่าจะเลือกตั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนจะถึงการเลือกตั้งก็เกิด การก่อรัฐประหารโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) จึงทำให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น