วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วยที่4





กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ

กฎหมายรัฐ

เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญนับเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และยังเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2540 ไทยเริ่มมีการปฏิรูปการเมือง จนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนประกาศใช้บังคับ ซึ่งจัดว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นเนื้อหาส่วนใหญ่ในเอกสารชุดนี้ จึงมุ่งเน้นในการศึกษาเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นหลัก

หลักทั่วไป

ความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” (Constitution)
สังเกต คำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อวิชาที่ศึกษารัฐธรรมนูญ (Constitution Law)
หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชน (เน้นที่เนื้อหาสาระของกฎหมาย ครอบคลุมไปถึงรูปแบบของรัฐ,องค์กรที่ใช้อำนาจ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพ)
ความหมายอย่างแคบ

หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา(เน้นที่รูปแบบที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

คำปรารภในรัฐธรรมนูญข้อความตอนท้ายของย่อหน้าที่ 2 มีความว่า “…สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญ เป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ใหประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสรีภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ…”

คำปรารภเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็น เจตนารมณ์ของรัฐธรมนูญ ซึ่งจะช่วยในการตีความรัฐธรรมนูญในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่มาตรา 1-336 อย่าตีความรัฐธรรมนูญสวนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
สรุป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในภาพรวม

๑.ทำการเมืองให้เป็นการเมืองของพลเมือง โดยขยายสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และการมีส่วนร่วม
๒.ขจัดการทุจริตทุกประเภท
๓.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534- ปัจจุบัน


มีผลบังคับใช้ในวันถัดไปหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2534

แก้ไขมาแล้ว 6 ฉบับ จนถึงปัจจุบันให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ 1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการอื่นที่ไม่สังกัด

การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการ ให้ตราเป็น พรบ. แต่ถ้าไม่การกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มให้ตราเป็น พรฎ.

ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการลูกจ้างขึ้นใหม่ จนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี นับจากวันที่ พรฎ.มีผลบังคับใช้

การยุบส่วนราชการตราเป็น พรฎ.

การรับโอนข้าราชการให้กระทำได้ภายใน 30 วัน นับจาก พรฎ. บังคับใช้

สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ให้แก้ไขเป็นสำนักงานรัฐมนตรี

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ให้เลขาธิการและรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และให้รองเลขาธิการนายกฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน

เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาฯคณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญรวมถึงปลัดสำนักนายก รองปลัดสำนักนายก และผู้ช่วยปลัดสำนักนายก

เลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง

เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารของคณะรัฐมนตรีและราชการในพระองค์

ก่อนคณะรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบในร่าง พรฎ. จัดตั้งส่วนราชการ ให้นายกรัฐมนตรีส่งร่าง พรฎ. ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อทราบ

การปฏิบัติราชการแทน ให้มีการมอบอำนาจเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ผู้ว่า เป็นการยกเว้น สามารถกระทำได้ทุกกรณีแทนทุกคน

เมื่อมีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจนั้นจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นมิได้ เว้นแต่มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายต่อ

นายกจะมอบหมายให้รองนายกปฏิบัติราชการแทนในส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกได้

การรักษาราชการแทน ให้กระทำได้เมื่อเจ้าของเรื่องไม่อยู่และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

การบริหารราชการในต่างประเทศ คณะผู้แทน คือข้าราชการ ทหารประจำการในต่างประเทศ ณ สถานเอกอัคราชทูต กงสุล หรือส่วนราชการในต่างประเทศ

การสั่ง และการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่อบุคคลในคณะผู้แมนให้เป็นไปตามระเบียบคณะรัฐมนตรีกำหนดกรมหนึ่งมีอธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบการปฏิบัติราชการของกรมโดยการใช้อำนาจให้คำนึงถึงนโยบายคณะรัฐมนตรีการบริหารส่วนกลาง เป็นการบริหารแบบรวมอำนาจการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบไปด้วย จังหวัด และอำเภอการตั้งยุบ เปลี่ยนแปลง เขตจังหวัดให้ตราเป็น พรบ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลในจังหวัดหนึ่งๆ ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่การยกเว้น จำกัด ตัดตอนอำนาจของผู้ว่าให้ตราเป็น พรบ.คณะกรรมการจังหวัด ประกอบไปด้วยผู้ว่า เป็นประธาน / รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด ผู้บังคับบัญชาตำรวจจังหวัด อัยการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอื่นๆ เป็นคณะกรรมการ / ให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นเลขานุการ และกรรมการการยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็น พรฎ. ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ให้มีนายอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารแบบแบ่งอำนาจการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. เทศบาล อบต. และราชการอื่นที่กำหนด สุขาภิบาลได้ยกฐานะเปลี่ยนเป็นเทศบาล ปัจจุบันไม่มีสุขาภิบาล

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรี 1 คน ที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธาน บุคคลที่คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมทั้งสิ้น 13 คน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน ต้องทำงานเต็มเวลา ให้จ่ายเงินตาม พรฎ.เลขาธิการ กพร. เป็นกรรมการและเลขาธิการโดยตำแหน่ง เป็นข้าราชการพลเรือนกรรมการมีวาระ 4 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ถ้าตำแหน่งว่างลงให้แต่งตั้งภายใน 30 วัน

สำนักงาน ก.พ.ร.เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจพรฎ. แบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม ให้แก้ไขให้เสร็จภายใน 2 ปี

ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย


1. ความไม่รู้กฎหมายเพียงพอของเจ้าพนักงานของรัฐการทำงานของเจ้าพนักงานมักจะใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออยู่ เป็นประจำ แต่ในบางครั้งเรื่องที่ได้รับแจ้งมานั้นอาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ครั้งนัก จึงยากที่จะใช้กฎหมายถ้าไม่รู้จักวิธีการอ่านกฎหมาย ศึกษากฎหมาย และแปลความกฎหมายเพื่อปรับใช้ในคดีความที่เกิดขึ้น อีกประการหนึ่ง เนื่องจากพนักงานตำรวจมีหน้าที่รักษากฎหมายทั่วไป ผิดกับเจ้าพนักงานอื่นๆที่มีหน้าที่ให้รักษาการเฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีความชำนาญในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เพราะบทกฎหมายที่รักษาการนั้นมีอย่างจำกัด การที่จะให้ความรู้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ถึงกฎหมายต่างๆอย่างกว้างขวาง และรู้ถึงวิธีการและเทคนิคการใช้กฎหมาย จึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม

2.การใช้ดุลพินิจอันไม่สมควรในการปฏิบัติหน้าที่

การใช้ดุลพินิจนั้นอาจมีหลายระดับตั้งแต่ในชั้นการสอบสวน การสั่งฟ้องคดีอัยการ การพิพากษาคดี หรือการออกคำสั่งคำร้องของผู้พิพากษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ใช้เพื่อความ ยุติธรรมในแต่ละขั้นตอนตามควรแก่กรณีทั้งสิ้น ในการใช้ดุลพินิจของพนักรัฐนั้น โดยมากมักมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมาจากนโยบายของหน่วยงาน และการปฏิบัติที่สืบต่อกันมา หากการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานเป็นไปอย่างไม่เที่ยงธรรม การการละเว้นหรือให้อภิสิทธิ์แก่บุคคลบางกลุ่มก็ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่บุคคลบางกลุ่มขึ้น ซึ่งการใช้ดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นแล้วประชาชนจะรู้สึกเกลียดชังเจ้าพนักงานของรัฐ และรัฐก็จะไม่ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายจากประชาชน

การปฏิบัติตามกฎหมาย


บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้กว้าง ๆ แต่มีความหมายครอบคลุมกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเอกชน มหาชน หรือกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้งกฎหมายระดับต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎหมายใด ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ อย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายแต่ละฉบับนั้นได้มีการร่างและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน จึงเป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคนที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายเพื่อไม่ให้เสียเปรียบหรือได้รับโทษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การใช้สิทธิเลือกตั้งมีทั้งในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญแต่ก็เคารพสิทธิเสรีภาพของเสียงข้างน้อย ในระบอบประชาธิปไตยจึงมีการเลือกตั้งผู้แทนไปปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นการเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นสมาชิก สภานิติบัญญัติ หรืออาจเป็นการเลือกผู้แทนไปเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยตรงก็ได้ แล้วแต่รูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งจึงถือเป็นกิจกรรมที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย การได้มีโอกาสใช้สิทธิในการเลือกตั้งจึงเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนที่อยู่ในประเทศประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชนที่สำคัญคือ การเลือกตั้ง ดังนั้น ประชาชนควรภาคภูมิใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยเสรี ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของคนไทย บุคคลใดที่ไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามกฎหมาย

หน่วยที่3



กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน


ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น จะต้องมีติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นหลายด้าน ถ้าต้องการให้ความสัมพันธ์นั้น มีผลทางกฎหมาย ก็ต้องมีการทำนิติกรรมสัญญาระหว่างกัน

พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร

1. ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้านเมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
กรณีตัวอย่าง การพัฒนาด้านการศึกษา จากการที่รู้ข้อมูลว่าจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นมีความหนาแน่นเพียงไร มีอัตราการเพิ่มอย่างไร ก็สามารถเป็นข้อมูลของรัฐบาลที่จะให้งบประมาณในด้านการสร้างโรงเรียน หรือในด้านการคมนาคม การที่จะให้มีการพัฒนาด้านการสร้างถนนหนทางไปในท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของบ้านเรือน เหล่านี้เป็นต้น หรือในด้านสาธารณสุขในเรื่องของการป้องกันโรคระบาด เมื่อในท้องที่ใดมีการแจ้งตายด้วยโรคระบาดก็สามารถเร่งให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดให้แก่คนในท้องถิ่นนั้นได้โดยรวดเร็วเพื่อป้องกันโรคระบาด เป็นต้น

2. คนเกิด
2.1 การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดดังต่อไปนี้
1) คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิดในกรณีคนเกิดในโรงพยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะบริการไปแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ที่คนเกิด โดยปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร บางแห่งจะมีสำนักงานทะเบียนท้องที่นั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านบริการรับแจ้งเกิด
2) คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ถ้าบิดามารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อบุตรนั้น ให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แจ้งชื่อคนเกิดต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจัดการเปลี่ยนชื่อให้ โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท
3) ผู้ที่พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำเด็กนั้นไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว
2.1 สถานที่แจ้งเกิด
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขตการแจ้งเกิดในกรณีคนเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ การไปแจ้งเกิดกรณีคนเกิดในบ้าน ผู้แจ้งต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วยทุกครั้ง เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานสูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก เพราะเป็นเอกสารที่แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาสตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่

3. คนตาย
3.1 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายให้แจ้งตายดังต่อไปนี้
1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
2) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ ถ้าในท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ การแจ้งตายกรณีคนตายในบ้าน เจ้าบ้านจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ โดยผู้แจ้งจะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย
3.2 สถานที่แจ้งตาย
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขต การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน เป็นหน้าที่เจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้อื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ถ้าจะมอบให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน และผู้นั้นมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เมื่อไปแจ้งต้องต้องนำสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านไปด้วย และเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจะมอบมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานมรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล

4. การย้ายที่อยู่
การย้ายที่อยู่จะต้องมีการแจ้งการย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วจะต้องแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งผู้นั้นย้ายไปอยู่ การแจ้งย้ายที่อยู่ให้ดำเนินการต่อไปนี้
4.1 การย้ายออก เมื่อมีบุคคลใดบ้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน หรือผู้แทนที่จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ดังกล่าวต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งภายในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4.2 การย้ายเข้า เมื่อบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านใดบ้านหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านที่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งย้ายผู้ใดเข้ามาอยู่ในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานการย้ายออกของผู้นั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งด้วย

5. การขอแก้ทะเบียนราษฎร
ในกรณีที่ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรของบุคคลไม่ตรงกับหลักฐานที่มีอยู่ ให้ไปติดต่ออำเภอหรือเทศบาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ในการติดต่อทางราชการ เพื่อการนี้ควรนำหลักฐานเอกสารของทางราชการที่มีอยู่ไปแสดง เช่น
1.สูติบัตร มรณบัตร
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.ใบสำคัญทางทหาร
4.เอกสารการสมรา การหย่า
5.สำเนาทะเบียนบ้าน
6.ใบสุทธิ
7.หลักฐานเกี่ยวกับสัญชาติ
8.หนังสือเดินทางมาหรือไปต่างประเทศ
9.หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี


สรุปสาระสำคัญ
1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิด
2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด เจ้าบ้านตะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า



กฎหมายการเกณฑ์ทหาร
การเกณฑ์ทหารในประเทศไทยในปัจจุบัน อาศัยความตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดให้ชายไทยทุกคนมีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหาร และยังเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย ขั้นตอนการเกณฑ์ทหารเริ่มต้นจากการลงบัญชีทหารกองเกินของชายไทยไว้ก่อน และจะมีการเรียกผู้ที่ลงบัญชีไว้มาตรวจเลือกเอาคนที่ทางทหารเห็นว่าเหมาะสมไปตามจำนวนที่ต้องการเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

ชายไทยจำนวนมากไม่ต้องผ่านการเกณฑ์ทหารเพราะผ่านการเรียนรักษาดินแดนครบสามปี ส่วนผู้ที่ไม่ได้เรียนรักษาดินแดนหรือเรียนไม่ครบตามกำหนดหลักสูตรและไม่มีข้อยกเว้นอย่างอื่นต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจเลือก ผู้ที่ศึกษาอยู่ หรือ ผู้ที่มีความจำเป็นต่างๆ และผู้ที่กฎหมายเห็นว่ามีเหตุอันสมควร จะสามารถไม่ต้องไปรับการตรวจเลือก หรือ ไปรับการตรวจเลือกแต่ได้รับการผ่อนผันและแต่กรณีซึ่งมักเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงได้มีการเพิ่มเติมแก้ไขอย่างต่อเนื่องตลอดเวลากว่า 50 ปีของการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

เนื่องจากกฎหมายทหารมีความซับซ้อนและมีกฎกระทรวงจำนวนมากออกมาแก้ไขกฎกระทรวงเก่าหรือยกเลิกกฎกระทรวงเก่าเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่เข้าใจขั้นตอนการเกณฑ์ทหารหลงเชื่อมิจฉาชีพซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายทหารหรือฝ่ายปกครองเองยอมจ่ายสินบนเพื่อเป็นการตอบแทนในการช่วยให้พ้นจากการรับราชการทหาร
การลงบัญชีทหารกองเกินและการรับหมายเรียก

ใบสำคัญ สด. ๙ แสดงการขึ้นทะเบียนเป็นทหารชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี บริบูรณ์ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในพุทธศักราชนั้น [1] ที่อำเภอท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่โดยจะได้รับใบสำคัญ สด. ๙ เมื่อลงบัญชี ณ อำเภอใดแล้ว อำเภอนั้นจะเป็นภูมิลำเนาทหารของทหารกองเกินผู้นั้น ภูมิลำเนาทหารเป็นภูมิลำเนาเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับทะเบียนบ้านหรือสำมะโนครัว การจะย้ายภูมิลำเนาทหารต้องกระทำที่อำเภอแยกต่างหากจากการย้ายภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร์ ทหารกองเกินที่ย้ายทะเบียนราษฎร์จะย้ายภูมิลำเนาทหารด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่มีหน้าที่แจ้งต่อนายอำเภอทุกครั้งที่ไปอยู่ต่างถิ่งเป็นเวลาเกินกว่า 30 วัน[2] หากไม่แจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท

ภูมิลำเนาทหารมีความสำคัญต่อทหารกองเกินอย่างมากเพราะเป็นสถานที่ที่ทหารกองเกินต้องไปรับการตรวจเลือก ในแต่ละท้องที่ก็มีจำนวนทหารกองเกินและความต้องการของฝ่ายทหารที่กำหนดมาต่างกัน การอยู่ในภูมิลำเนาทหารที่ต่างกันจึงมีผลต่อการตรวจเลือกเข้ารับกองประจำการ และเป็นช่องทางให้มีผู้หลีกเลี่ยงการเป็นทหารใช้หลบเลี่ยงไปได้

ทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายในพุทธศักราชนั้น [3] โดยจะได้รับหมายเรียก สด. ๓๕ ทหารกองเกินซึ่งจะถูกเรียกมาตรวจคัดเลือก เพื่อเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการนั้น ต้องมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ [4]

ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ขึ้นบัญชีทหารกองเกินหรือไม่มารับหมายเรียกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าก่อนที่เจ้าหน้าที่ยกเรื่องขึ้นพิจารณาความผิด ผู้นั้นได้มาขอลงบัญชีทหารกองเกิน หรือ มารับหมายเรียกแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ [5]

นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จหลักสูตรชั้นปีที่ 3 แล้ว ให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 โดยไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการ ได้รับหนังสือสำคัญ สด. ๘ พร้อมกับสมุดประจำตัวทหารกองหนุน ทั้งนี้เนื่องจากมิได้มีสถานะทหารกองเกินแล้วจึงไม่ต้องรับหมายเรียกและไม่ต้องไปรับการตรวจเลือก แต่อาจถูกเรียกพลในฐานะทหารกองหนุนได้[6] ซึ่งการเรียกพลนี้มิได้เรียกทุกคน

การตรวจเลือกคนเข้ากองประจำการ
ทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกตามกำหนดหมายนั้น ในวันตรวจเลือกนั้นนอกจากหลักฐานทางทหารและบัตรประจำตัวประชาชนแล้วให้นำหลักฐานการศึกษามาแสดงด้วย [7]

ผู้ใดหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกหรือมาแต่ไม่อยู่จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จเพื่อรับหลักฐานใบรับรองผลการตรวจเลือก (สด. ๔๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี [8] ผู้กระทำความผิดตามข้อนี้นี่เองที่มักเรียกกันว่า หนีทหาร

ผู้มาเข้ารับการตรวจเลือก หากไม่สามารถใช้สิทธิ์ผ่อนผัน จะถูกกรรมการตรวจเลือกแบ่งออกเป็น 4 จำพวก ได้แก่ [9]

1.คนที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี
2.ไม่สมบูรณ์ดีแต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ
3.คนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้ เพราะป่วยและไม่สามารถรักษาให้หายได้ใน 30 วัน
4.พิการ ทุพพลภาพ หรือ มีโรคที่ไม่สามารถรับราชการทหารได้
ตามกฎกระทรวงดังกล่าวบุคคลที่จะรับราชการทหารได้ต้องมีขนาดรอบตัว 76 เซนติเมตรขึ้นไปเวลาหายใจออก และสูงตั้งแต่ 146 เซนติเมตรขึ้นไป แต่ทางทหารจะได้ประกาศอีกครั้งในแต่ละปี ว่าจะคัดบุคคลที่มีขนาดใดขึ้นไป ซึ่งมักจะสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ในช่วงระยะเวลานั้นชายไทยที่อยู่ในอายุเกณฑ์ทหารอาจยังมิได้มีขนาดร่างกายเช่นในปัจจุบัน

วิธีการคัดเลือกจะเลือกจากคนจำพวกที่ 1 ก่อน หากคนจำพวกที่ 1 ไม่พอให้เลือกจากคนจำพวกที่ 2 ด้วย หากคนจำพวกที่ 2 ไม่พอให้นำคนที่ผ่อนผันอยู่มาคัดเลือกด้วยตามขั้นตอนข้างต้น (แบ่งเป็น 4) จำพวก หากมีคนเกินกว่าจำนวนที่ทางทหารต้องการให้จับสลาก โดยแบ่งออกเป็บใบดำและใบแดงซึ่งเขียนแผนกของกองประจำการไว้ เป็นที่มาของการจับใบดำใบแดง ผู้จับได้ใบแดงต้องเข้ารับราชการทหารในกองประจำการ โดยจะได้หมายนัดเข้ารับราชการทหาร (สด. ๔๐)

คนจำพวกที่ 3 และ 4 ในการตรวจเลือกจะไม่ถูกส่งตัวเข้ากองประจำการ คนจำพวกที่ 3 ให้มาตรวจเลือกในคราวถัดไป เมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกแล้วยังเป็นคนจำพวกที่ 3 อยู่ 3 ครั้งให้งดเรียก คนจำพวกที่ 3 เมื่อมาตรวจเลือกจะได้ใบสำคัญสำหรับคนจำพวกที่ 3 (สด. ๔) ส่วนคนจำพวกที่ 4 ได้รับใบสำคัญสำหรับคนจำพวกที่ 4 (สด. ๕)

บุคคลที่ไม่ใช้สิทธิ์ผ่อนผัน ผ่านการตรวจเลือกแล้ว และผลการตรวจเลือกถึงที่สุดแล้วไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการไม่ต้องรับหมายเรียกและไม่ต้องมาตรวจเลือกอีกในปีต่อไป ส่วนผู้ที่ผ่อนผันอยู่ต้องมาตรวจเลือกทุกปีจนกว่าอายุจะครบ 30 ปี

ใบรับรองผลการตรวจเลือก สด. ๔๓ ทุกคนต้องได้รับในวันตรวจเลือกจากกรรมการตรวจเลือกเท่านั้น หากได้รับในวันอื่นหรือจากบุคคลอื่นให้สันนิษฐานว่าเป็นของปลอม ผู้นำไปใช้มีความผิดตามกฎหมาย [10] และถือว่าผู้นั้นไม่ได้มาเข้ารับการตรวจเลือกอย่างถูกต้อง


กฎหมายเลือกตั้ง

สถานะของกฎหมายเลือกตั้งภายหลังการยึดอำนาจการปกครอง

•รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกการใช้บังคับ และส่งผลให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดตามไปด้วย เนื่องจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มิได้ออกประกาศให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป
•กฎหมายเลือกตั้งในขณะนี้จึงคงอยู่แต่เฉพาะพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546

หัวข้อ
1.โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
2.แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
3.วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด

วัตถุประสงค์และลักษณะพิเศษของกฎหมายเลือกตั้ง
•ตามมาตรา 11
•สุจริต ไม่มีการโกง การใช้เงินซื้อเสียง ฯลฯ
•เที่ยงธรรม ไม่มีการกลั่นแกล้ง ใส่ร้ายป้ายสี เอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ
•เรียบร้อย ไม่มีความปั่นป่วน วุ่นวาย
•เป็นกฎหมายมหาชน ถือการคุ้มครองประโยชน์ของมหาชนเป็นหลักยิ่งกว่าเอกชน

ใบเหลืองและใบแดงตามกฎหมายเลือกตั้ง

•ใบเหลือง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 95)
•ใบแดง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหนึ่งปีและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 96)
•มติ กกต.เกี่ยวกับใบเหลืองและใบแดง ไม่ใช่คำวินิจฉัยว่าผู้สมัครทำผิดทางอาญา เว้นแต่จะมีพยานหลักฐาน ฯลฯ

กฎหมายอาญากับการเลือกตั้ง

•“No crime, No punishment, without Law”

ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ

•Due Process of Law

หลักนิติธรรมตามวิธีพิจารณาความอาญา
1. โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สามารถจำแนกประเภทความผิดที่มีโทษทางอาญาได้ตามพฤติการณ์ที่พบว่ามีการร้องเรียนการกระทำความผิด ดังนี้

•การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน
•การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่
•การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป

การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน เช่น
•ตามมาตรา 57
•การ จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่ผู้ใดหรือแก่ชุมชน วัด สถานศึกษา (1) และ (2)
•หาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ (3)
•เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยง (4)
•หลอกลวง บังคับ ข่มขู่ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย (5)
•การจัดยานพาหนะรับและหรือส่งผู้ใช้สิทธิ ตามมาตรา 58

การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่


•ใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร (มาตรา 60) เช่น ลงชื่อแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยทุจริต แจ้งจำนวนผู้มาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งโดยผิดจากความเป็นจริง การกาบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่โดยทุจริต ฯลฯ
•การใช้บัตรเลือกตั้งปลอม การพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
•การเปลี่ยนหีบบัตรในระหว่างการจัดส่งหีบบัตรมายังหน่วยนับคะแนน
•การจงใจนับบัตรเลือกตั้ง อ่านบัตรเลือกตั้ง นับคะแนนเลือกตั้ง หรือรวมคะแนนเลือกตั้งผิดจากความจริงการกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป
•การจ่าย แจก เงินหรือสิ่งของ การจัดเลี้ยง (มาตรา 81)
•เรียก รับ เพื่อลงคะแนน หรือไม่ลงคะแนน (มาตรา 82)
•การขัดขวาง หน่วงเหนี่ยวผู้ใช้สิทธิ (มาตรา 80)
2. แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งกฎหมายพรรคการเมือง

หลักการ

•ต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ตามที่กฎหมายบัญญัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
•เจ้าหน้าที่ต้องไม่มีอคติทั้ง 4 (คือ ชอบ ชัง กลัว โลภ) ในการดำเนินการกับผู้กระทำผิด
•ต้องแสวงหาพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดของจำเลย อย่าให้มีข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่

อุปสรรค
•ผู้กระทำผิดมักเป็นลูกน้อง หัวคะแนน พวกพ้อง หรือญาติพี่น้องของนักการเมืองซึ่งมีอิทธิพลในพื้นที่
•มีเรื่องร้องเรียนแต่ละเขตเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ทำให้ระยะเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมีน้อย
•พยาน หลักฐานที่ชัดแจ้งแสดงถึงการกระทำผิด เช่น ภาพจากกล้องวิดีโอ ภาพถ่าย เทปบันทึกเสียง ฯลฯ มีน้อยไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน

3. วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด

•กกต.ควรขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่นอกพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นชุดรับแจ้งเหตุ และจับกุมการกระทำความผิดในช่วงหาเสียงเพิ่มเติมนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
•การสืบสวนอาจต้องใช้อาสาสมัครในการเก็บข้อมูลอย่างลับ ๆ และใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องวิดีโอ mp3 ที่บันทึกเสียงได้ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
•การสอบสวน เจ้าหน้าที่ควรต้องสอบให้ถึงวัตถุประสงค์หรือมูลเหตุจูงใจในการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งอย่างชัดเจน เช่น การจัดเลี้ยง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ โดยอ้างว่าเป็นไปตามวาระแห่งประเพณีนั้น ผู้ถูกกล่าวหาได้จัดงานหรือบริจาคเงินหรือสิ่งของเช่นนี้เรื่อยมาเป็นปกติ หรือไม่
•การตั้งคำถาม และการสอบสวน ควรต้องให้ผู้ถูกกล่าวหานำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
•การสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา ควรมีการบันทึกเทปวิดีโอไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลที่แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลย เพื่อเพิ่มน้ำหนัก และความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น ทั้งทำให้การกลับคำให้การทำได้ยากขึ้น
•กกต.ควรกำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ให้ถูกต้องและเคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการใช้เงินในการเลือกตั้งมากเกินสมควร ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้สมัครรายอื่น รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของ กกต.อย่างทั่วถึงและเพียงพอ

อุดมการณ์ของเจ้าหน้าที่ กกต.

•กกต.เป็นหัวใจที่จะประกันให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม
•เจ้าหน้าที่ กกต.จึงต้องเป็นกลาง มีเหตุผล และเป็นธรรม
•การทำงานของ กกต.จึงเป็นการทำงานเพื่อชาติ เพื่อประชาชน
•ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง
1) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดองค์กรภายของพรรคการเมืองดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรค (มาตรา20)
- คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา12)

2) การรวมและการยุบพรรคการเมือง

เจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองนั้นต้องการส่งเสริมเสถียรภาพของพรรคการเมืองและต้องการให้ระบบการเมืองไทยมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็งเพียงน้อยพรรค ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 จึงวางหลักเกณฑ์เงื่อนไขส่งเสริมให้พรรคการเมืองขนาดเล็กยุบพรรคหรือรวมพรรคเพื่อให้เกิดพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ได้วางหลักเกณฑ์ในการรวมพรรคไว้ดังนี้

2.1 การรวมพรรคการเมือง

2.1.1 การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ (มาตรา 70)

1) ในกรณีที่เป็นการรวมพรรคเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่นั้น พรรคที่จะรวมกัน

จะต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค

2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคเห็นชอบแล้ว ให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหาร

พรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมืองและข้อบังคับพรรคการเมือง

3) เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ก็ให้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของทุกพรรคการเมืองที่จะรวมกัน เพื่อประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง การเรียกประชุมจัดตั้งพรรคต้องแจ้งให้สมาชิกของพรรคทราบก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน

4) เมื่อนายทะเบียนจดแจ้งการตั้งพรรคการเมืองแล้ว นายทะเบียนต้องดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากันเป็นอันยุบไป และให้ ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็น ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองใหม่

2.1.2 การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก

การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

1) ในกรณีที่การรวมพรรคการเมืองเป็นการรวมพรรคหนึ่งหรือหลายพรรคการเมือง เข้าเป็นพรรคการเมืองกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก พรรคการเมืองที่จะรวมกัน ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรค

2) เมื่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคเห็นชอบให้รวมกันแล้ว หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะรวมตัวกันทุกพรรคต้องแจ้งการรวมพรรคต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 62 วรรค 2 คือยื่นร่วมต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบัยน เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลักนั้นยุบไป นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง

2.2 การเลิกและการยุบพรรคการเมือง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541ได้กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองย่อมเลิกหรือยุบด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้ (มาตรา 65)

1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง

2) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 15 คน

3) มีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น

4) มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง

5) ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย อาทิเช่น องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองไม่ครบ หรือไม่สามารถหาสมาชิกได้อย่างน้อย 5,000 คนภายใน 180 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง

3) ระบบเงินสนับสนุนพรรคการเมือง

ระบบเงินอุดหนุนพรรคการเมืองโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) และระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ(Public Financing) (สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ : 270)

3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) หมายถึงการได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการเมืองซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ

การบริจาคเงินเพื่อให้พรรคการเมืองนำไปดำเนินการตามนโยบายของพรรคการเมืองนั้นต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้

“ห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ใด เพื่อสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดินหรือกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศหรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน”(มาตรา 52)

นอกจากนี้กฎหมายพรรคการเมืองห้ามมิให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองหรือดำเนินกิจการทางการเมืองจากบุคคลหรือองค์กรดังต่อไปนี้ (มาตรา 53)

(1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย

(2) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่ ในหรือนอกอาณาจักร

(3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือ หุ้นเกินร้อยละยี่สิบห้า

(4) องค์กรหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศซึ่งมี วัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือมีผู้จัดการ หรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย

(5) บุคคล องค์กร หรือนิติบุคคลตามที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อดำเนิน

กิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคลองค์การหรือ

นิติบุคคลตาม (1) (2) (3) (4)

(6) บุคคล องค์การหรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ทั้งนี้ การห้ามพรรคการเมืองรับเงินสนับสนุนจากบุคคลหรือองค์การดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองถูกแทรกแซงหรือครอบงำจากบุคคลหรือองค์กรจากต่างชาติ นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินงานของพรรคการเมืองเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ กฎหมายจึงได้กำหนดให้หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคและกรรมการสาขาพรรคการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู้สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (มาตรา 42)

3.2 ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2541 ระบุว่า รัฐจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยการให้เงินอุดหนุนแก่พรรคการเมืองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้พรรคการเมืองปลอดจากอิทธิพลครอบงำจากกลุ่มทุนหรือองค์กรที่สนับสนุนอยู่

หน่วยที่2








ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


ประกอบด้วยบทบัญญัติ 6 บรรพ ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่อย่าง เบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุค (Bürgerliches Gesetzbuch) หรือประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ที่มี 5 บรรพ แต่ไทยได้แยกเอาเรื่องหนี้ลักษณะเฉพาะจากบรรพ 2 หนี้ มาไว้เป็นบรรพ 3 เอกเทศสัญญา อีกบรรพหนึ่ง[39] โดยบรรพทั้งหกของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีดังนี้

บรรพ 1 หลักทั่วไป ประกอบด้วยบทบัญญัติ 6 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ 2 บุคคล
ลักษณะ 3 ทรัพย์
ลักษณะ 4 นิติกรรม
ลักษณะ 5 ระยะเวลา
ลักษณะ 6 อายุความ
บรรพ 2 หนี้ ประกอบด้วยบทบัญญัติ 5 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ 2 สัญญา
ลักษณะ 3 จัดการงานนอกสั่ง
ลักษณะ 4 ลาภมิควรได้
ลักษณะ 5 ละเมิด
บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ประกอบด้วยบทบัญญัติ 23 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะ 1 ซื้อขาย
ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน
ลักษณะ 3 ให้
ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์
ลักษณะ 5 เช่าซื้อ
ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน
ลักษณะ 7 จ้างทำของ
ลักษณะ 8 รับขน
ลักษณะ 9 ยืม
ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์
ลักษณะ 11 ค้ำประกัน
ลักษณะ 12 จำนอง
ลักษณะ 13 จำนำ
ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า
ลักษณะ 15 ตัวแทน
ลักษณะ 16 นายหน้า
ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ
ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ
ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด
ลักษณะ 20 ประกันภัย
ลักษณะ 21 ตั๋วเงิน
ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท
ลักษณะ 23 สมาคม
บรรพ 4 ทรัพย์สิน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 8 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ 2 กรรมสิทธิ์
ลักษณะ 3 ครอบครอง
ลักษณะ 4 ภาระจำยอม
ลักษณะ 5 อาศัย
ลักษณะ 6 สิทธิเหนือพื้นดิน
ลักษณะ 7 สิทธิเก็บกิน
ลักษณะ 8 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
บรรพ 5 ครอบครัว ประกอบด้วยบทบัญญัติ 3 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะ 1 การสมรส
ลักษณะ 2 บิดามารดากับบุตร
ลักษณะ 3 ค่าอุปการะเลี้ยงดู
บรรพ 6 มรดก ประกอบด้วยบทบัญญัติ 6 ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
ลักษณะ 3 พินัยกรรม
ลักษณะ 4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
ลักษณะ 5 มรดกที่ไม่มีผู้รับ
ลักษณะ 6 อายุความ

กฏหมายอาญา

1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด


กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ
1. ความผิดทางอาญา
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้
กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา

3. โทษทางอาญา
1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ
4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด

บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ

5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ

6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก ผู้กระทำความผิดด้วย กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
กรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3
สรุปสาระสำคัญ
1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
3. กักขัง 4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน
6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
เหตุยกเว้นโทษทางอาญา
การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาทบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
อนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้
กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หน่วยที่1





ความหมายของกฎหมาย

กฎหมายคืออะไร? เชื่อได้เลยว่าทุกคนหรือแทบจะทุกคนในสังคมคงจะรู้จักคำๆนี้เป็นอย่างดี แต่หากจะให้อธิบายความหมายของคำนี้ หลายๆคนคงไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ ซึ่งจริงๆแล้วแม้แต่ในทางวิชาการก็มีการให้นิยามความหมายแตกต่างกันออกไปมากมาย เนื่องจากเป็นการยากที่จะนิยามความหมายออกมาให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด แต่พอจะสรุปได้ดังนี้




กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม

มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่เนื่องจากความคิด อุปนิสัย สภาพแวดล้อม เพศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไป จึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย กฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนวทางเดียวกัน ก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายอันสำคัญของสังคม ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้เมื่อคิดย้อนกลับไปแล้ว ก็จะมาจากคนในสังคมนั่นเอง

ลักษณะของกฎหมาย
เราสามารถแยกลักษณะของกฎหมายออกได้เป็น 5 ประการ คือ


1.กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ซึ่งจะแตกต่างกับการเชื้อเชิญหรือขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตาม คำสั่งหรือข้อบังคับนั้นมีลักษณะให้เราต้องปฏิบัติตาม แต่ถ้าเป็นการเชื้อเชิญหรือขอความร่วมมือ เราจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ เช่นนี้เราก็จะไม่ถือเป็นกฎหมาย เช่น การรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ หรือช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ

2.กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์หรือผู้ที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ รัฐาธิปัตย์คือผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ในระบอบเผด็จการหรือระบอบการปกครองที่อำนาจการปกครองประเทศอยู่ในมือของบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด มีอำนาจออกกฎหมายได้ เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด พระบรมราชโองการหรือคำสั่งของพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นกฎหมาย ส่วนในระบอบประชาธิปไตยของเรา ถือว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน กฎหมายจึงต้องออกโดยประชาชน คำถามมีอยู่ว่าประชาชนออกกฎหมายได้อย่างไร ก็ออกโดยที่ประชาชนเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ซึ่งก็คือสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)นั่นเอง ดังนั้นการเลือก ส.ส. ในการเลือกทั่วไปนั้นนอกจากจะเป็นการเลือกคนเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ยังเป็นการเลือกตัวแทนของประชาชนเพื่อทำการออกกฎหมายด้วย

นอกจากดังกล่าวมาข้างต้น อาจมีบางกรณีที่กฎหมายให้อำนาจเฉพาะแก่บุคคลในการออกกฎหมายไว้ เช่น พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงที่ออกโดยฝ่ายบริหาร(คณะรัฐมนตรี) ฯลฯ

3.กฎหมายต้องใช้บังคับได้โดยทั่วไป คือเมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น กรณีของฑูตต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำในประเทศไทยอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร หรือหากได้กระทำความผิดอาญา ก็อาจได้รับเอกสิทธิ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องถูกดำเนินคดีในประเทศไทย โดยต้องให้ประเทศซึ่งส่งฑูตนั้นมาประจำการดำเนินคดีแทน ฯลฯ

4.กฎหมายต้องใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการประกาศใช้แล้วแม้กฎหมายนั้นจะไม่ได้ใช้มานาน ก็ถือว่ากฎหมายนั้นยังมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอด กฎหมายจะสิ้นผลก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกกฎหมายนั้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นเท่านั้น

5.กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ ถามว่าอะไรคือสภาพบังคับ นั่นก็คือการดำเนินการลงโทษหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก และรวมไปถึงการเยียวยาต่อความเสียหายที่เกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมายนั้นด้วย
ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯนั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯในคราวเดียวกันก็ได้
แต่กฎหมายบางอย่างก็อาจไม่มีสภาพบังคับก็ได้ เนื่องจากไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้คนต้องปฏิบัติตาม แต่อาจบัญญัติขึ้นเพื่อรับรองสิทธิให้แก่บุคคล หรือทำให้เสียสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม หรือบุคคลที่มีอายุ 15 ปีแล้วสามารถทำพินัยกรรมได้ ฯลฯ หรือออกมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ ซึ่งกฎหมายประเภทนี้จะไม่มีโทษทางอาญาหรือทางแพ่งแต่อย่างใด

ที่มาของกฎหมาย

1.ศีลธรรม คือกฎเกณฑ์ของความประพฤติ คำๆนี้ฟังเข้าใจง่ายแต่อธิบายออกมาได้ยากมาก เพราะเป็นสิ่งที่แต่ละคนเข้าใจได้ในตัวเองและมีความหมายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สภาพแวดล้อม ฯลฯ แต่อย่างไรก็ความหมายของศีลธรรมของแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แม้อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยหลักแล้วก็จะหมายถึง ความรู้สึกผิดชอบหรือความดีงามต่างๆที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้โดยสงบสุข ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายจึงต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมให้มากที่สุดนั่นเอง

2.จารีตประเพณี คือแบบแผนที่คนในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน แต่ละสังคมก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่สภาพแวดล้อม ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ เช่นเดียวกับศีลธรรม การกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจารีตประเพณี คนในสังคมนั้นๆก็จะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่สมควรกระทำ จึงนำมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆยอมรับ ตัวอย่างที่สำคัญก็คือกฎหมายในประเทศอังกฤษนั้น ผู้พิพากษาจะใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษา ซึ่งคำพิพากษานั้นถือเป็นกฎหมาย ส่วนประเทศอื่นๆก็มีการนำจารีตประเพณีมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมายเช่นกัน เช่นกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องของการหมั้น การแบ่งมรดก ฯลฯ

3.ศาสนา คือหลักการดำเนินชีวิตหรือข้อบังคับที่ศาสดาของแต่ละศาสนาบัญญัติขึ้นเพื่อสอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เมื่อพูดถึงศาสนาเราก็อาจนึกไปถึงศีลธรรม เพราะสองคำนี้มักจะมาคู่กัน แต่คำว่าศีลธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าคำว่าศาสนา เพราะศีลธรรมอาจหมายความรวมเอาหลักคำสอนของทุกศาสนามารวมไว้และความดีงามต่างๆไว้ในคำๆเดียวกัน เมื่อเรากล่าวถึงคำสอนของศาสนาอิสลาม นั่นหมายถึงศีลธรรม เมื่อเรากล่าวถึงคำสอนของศาสนาพุทธ นั่นหมายถึงเรากล่าวถึงศีลธรรมเช่นกัน กฎหมายของแต่ละประเทศก็จะบัญญัติขึ้นโดยอาศัยศาสนาเป็นรากฐานด้วย เช่นในประเทศไทยเราในทางอาญาก็จะนำศีล 5 มาใช้ในการบัญญัติกฎหมาย เช่นห้ามฆ่าผู้อื่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดในกาม ฯลฯ

4.คำพิพากษาของศาล มีเฉพาะบางประเทศเท่านั้นที่ถือเอาคำพิพากษาของศาลมาจัดทำเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศอังกฤษ คือใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษาคดีและเพื่อไม่ให้มีกรณีเดียวกันนี้เกิดขึ้นซ้ำอีกก็จะนำคำพิพากษานั้นมาจัดทำเป็นกฎหมายเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม หากมีคดีที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกันเกิดขึ้นอีก ศาลก็จะตัดสินเหมือนกับคดีก่อนๆ แต่ในหลายๆประเทศคำพิพากษาเป็นเพียงแนวทางในการพิจารณาพิพากษาของศาลเท่านั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาต่างจากคดีก่อนๆได้ จึงไม่ถือคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศไทยเราเป็นต้น

5.หลักความยุติธรรม(Equity) หลักความยุติธรรมนี้จะต้องมาควบคู่กับกฎหมายเสมอ เพียงแต่ความยุติธรรมของแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ดีผู้บัญญัติและผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรมด้วยและความยุติธรรมนี้ควรจะอยู่ในระดับที่คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ เพราะถ้าเป็นความยุติธรรมโดยคำนึงถึงคนส่วนน้อยมากกว่า ก็จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยแท้จริง ตัวอย่างที่สำคัญคือ ในอังกฤษนั้นแต่ก่อนการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นจะฟ้องเรียกได้เฉพาะจำนวนเงินเท่านั้น จะฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไม่ได้ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย เนื่องจากในบางรายผู้เสียไม่ได้ต้องการเงินค่าเสียหาย แต่ต้องการให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำต่อกัน ดังนั้นจึงได้มีการนำเอาหลักความยุติธรรมาใช้โดยอนุญาตให้มีการชำระหนี้โดยการปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ตามความมุ่งหมายของผู้ที่เสียหายได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดียิ่งขึ้น

6.ความคิดเห็นของนักปราชญ์ ก็คือผู้ทรงความรู้ในทางกฎหมายนั่นเอง อาจจะเป็นนักวิชาการ หรืออาจารย์สอนกฎหมายก็ตาม เนื่องจากนักปราชญ์เหล่านี้จะเป็นผู้ค้นคว้าหลักการและทฤษฎีต่างๆเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งกฎหมายหรือคำพิพากษาของศาลอยู่เสมอ ทำให้เกิดหลักการหรือทฤษฎีใหม่ๆที่เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายได้ เช่น แนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ ในประเทศรัสเซีย ฯลฯ

ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้


ความสำคัญของกฎหมาย


1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม

2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น

ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ



























วิวัฒนาการของกฎหมายไทย
สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของฮินดู ซึ่งเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการแกครองแต่เพียงผู้เดียว ต้องปกครองบ้านเมืองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยความเป็นธรรม ยุติธรรม และมีเมตตาธรรม และพระราชศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์สร้างขึ้นจากการวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและสะสมต่อ ๆ กันมา โดยยึดหลักว่า จะต้องสอดคล้องกับคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ด้วย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเอง โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยามีเป็นจำนวนมากตามความต้องการและความจำเป็นในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่น กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายลักษณะผัวเมีย ฯลฯ เป็นต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้มีการรวบรวมและตรวจชำระกฎหมายครั้งใหญ่ ฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่กระจัดกระจาย ชำรุด หรือสูญหาย เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 โดยนำมารวบรวมจัดเป็นหมวดหมู่ แก้ไขความคลาดเคลื่อน ความไม่ยุติธรรมที่ตรวจพบ และเพิ่มเติมในบางส่วนที่ขาดหายไปขึ้นมาใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากปัญหาการบังคับใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของชาติตะวันตก ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ทรงโปรดให้มีการปฏิรูปการศาลยุติธรรมและระบบกฎหมายครั้งใหญ่ โดยจัดระเบียบการศาลยุติธรรมใหม่ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายตามคำกราบบังคมทูลของกรมหลวงราชบุรดิเรกฤทธิ์ ซึ่งทรงเป็นครูสอนกฎหมายเองด้วย และทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งประกอบด้วยนักกฏหมายไทยและต่างประเทศ คณะกรรมการชุดนี้ได้ทำการร่างและประกาศใช้ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งถือว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ต่อมามีการปรับปรุงอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2486 และ 2499 เรียกว่า ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยต่อ ๆ มาก็ได้มีการร่างและประกาศใช้ประมวลกฎหมายอื่น ๆ อีกหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิถีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฯลฯ เป็นต้น
การปฏิรูปกฎหมายศาลยุติธรรมและการประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ทำให้ประเทศไทยหมดยุคกฎหมายเก่า และเข้าสู่ยุคขบวนกฎหมายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การจัดทำกฎหมายไทย
ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบประมวลกฎหมาย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีการจัดทำกฎหมายขึ้นใช้หลายรูปแบบ เรียงตามลำดับฐานะหรือความสำคัญของกฎหมาย4 จากสูงไปต่ำ ดังนี้ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ (พระราชกำหนดประมวลกฎหมาย) พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และกฎหมายท้องถิ่น การจัดทำกฎหมายรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ มีขั้นตอนและวิธีการแตกต่างกัน ดังนี้

การจัดทำรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประชาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบการบริหารประเทศ ผู้ที่มีอำนาจจัดหาสูงสุดในการปกครองประเทศขณะนั้น ไม่ว่าจะได้อำนาจมา โดยวิธีใดก็ตาม อาจจะเป็นประมุขของประเทศ หรือหัวหน้าคณะปฏิวัติหรอรัฐประหาร ที่ต้องการเปลี่ยนการปกครองจากการใช้กำลัง มาเป็นการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง การจัดทำรัฐธรรมนูญอาจกระทำอย่างรวบรัด ตั้งแต่การยกร่าง การพิจารณาโดยไม่เปิดเผย แล้วประกาศใช้เลยก็ได้ แต่โดยหลักการแล้วเท่าที่ผ่านมา หัวหน้าคณะปฏิวัติจะถวายอำนาจการตรารัฐธรรมนูญแต่พระมหากษัตริย์ โดยนำขึ้นทูลเกล้าให้ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยมีหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการประกาศใช้ เช่น พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2520 เป็นต้น
ในสถานการณ์ปกติ การจัดทำรัฐธรรมนูญ จะมีการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งคณะบุคคลขึ้นมาทำหน้าที่ยกร่างและพิจารณา อาจเรียกว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรืออาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นก็ได้ เมื่อยกร่างและพิจารณาเสร็จแล้วก็จะนำขึ้นทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้โดยมีสภาดังกล่าวเป็นผู้รับสอนพระบรมราชโองการ เช่น การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับปัจจุบัน เป็นต้น

การจัดทำพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา มีขั้นตอนและวิธีการดังนี้
การเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ผู้ที่มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคการเมืองที่สังกัดมีมติให้เสนอได้ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสังกัดพรรคการเมืองเดียวกันลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000คน เสนอร่างพระราชบัญญัติได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หรือแนวนโยบายแห่งรัฐ ร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับรองด้วย
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา โดยต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจึงเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาโดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 รับหลักการ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเฉพาะ หลักการของร่างพระราชบัญญัติว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง มีความเหมาะสม จำเป็นหรือไม่ โดยไม่พิจารณารายละเอียดอื่น ๆ แล้วลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ ถ้าไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ารับหลักการก็จะตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณารายละเอียด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนมีสิทธิเสนอขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เรียกว่า แปรญัตติ
วาระที่ 2 แปรญัตติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ที่มีการขอแปรญัตติ และลงมติเฉพาะมาตรานั้นว่าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ หรือคงไว้ตามเดิม
วาระที่ 3 ลงมติให้ความเห็นชอบ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมใด ๆ อีกไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชอบก็ตกไป ถ้าเห็นชอบด้วยก็ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมา โดยแบ่งออกเป็น 3 วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร และจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน ต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 30 วัน ถ้าไม่เสรีที่ประชุมอาจลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้อีก 30 วัน ถ้าไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 105 วัน และวุฒิสภาต้องพิจารณาให้เสรีภายใน 20 วัน ถ้าไม่เสรีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบ
ถ้าวุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนและส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างพระราชบัญญัติเดิม ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
การตราร่างพระราชบัญญัติ
ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการร่างพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยีนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้นายรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้า ฯ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว




การประกาศใช้พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้



การจัดทำพระราชกำหนด
พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ออกโดยผ่ายบริหาร ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้ใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี แล้วนำเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ พระราชกำหนดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พระราชกำหนดทั่วไป จะออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลดภัยของประเทศ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือป้องปัดพิบัติสาธารณะ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา จะออกได้ในระหว่างสมัยประชุม กรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน
การเสนอร่างพระราชกำหนด
ผู้เสนอร่างพระราชกำหนด ได้แก่ รัฐมนตรีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้ามีความจำเป็นจะต้องขึ้นภาษีอากรอย่างรับด่วน ซึงต้องพิจารณาเป็นความลับ การขึ้นภาษีอากรนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องก้บกระทรวงพาณิชย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การเสนอร่างพระราชกำหนด
ผู้เสนอร่างพระราชกำหนด ได้แก่ รัฐมนตรีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้ามีความจำเป็นจะต้องขึ้นภาษีอากรอย่างรีบด่วน ซึ่งต้องพิจารณาเป็นความลับ การขึ้นภาษีอากรนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การพิจารณาร่างพระราชกำหนด
ผู้พิจารณาร่างพระราชกำหนด คือ คณะรัฐมนตรี โดยจะพิจารณาว่าพระราชกำหนดนั้นเป็นเรื่องฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ แล้วลงมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ถ้าอนุมัติก็ตกไป
การตราพระราชกำหนด
ผู้ตราพระราชกำหนด ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชกำหนดที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงปรมาภิไธย และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
การประกาศใช้พระราชกำหนด
พระราชกำหนดที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจินุเบกษาแล้ว จึงจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายพระราชกำหนดที่ประกาศใช้แล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภา ถ้าเป็นพระราชกำหนดทั่วไปจะต้องเสนอโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นโดยเร็ว ถ้าเป็นพระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายใน 3 วัน การพิจารณาพระราชกำหนดของสภา จะพิจารณาเช่นเดียวกับการพิจารณาพระราชบัญญัติแล้วลงมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นตกไป สิ้นผลบังคับใช้ไม่เป็นกฎหมายอีกต่อไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้เป็นไประหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น ถ้ารัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป และการพิจารณาต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศใน
การจัดทำพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์รองลงมาจากพระราชบัญญัติ การออกพระราชกฤษฎีกาต้องอาศัยกฎหมายอื่นที่มีศักดิ์สูงกว่าซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจให้ออกได้ เช่น การจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัติให้การแบ่งส่วนราชการในสำนักเลขานุการรัฐมนตรี กรม หรือส่วนรายการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ตราเป็นพระราช-กฤษฎีกา เป็นต้น ดังนั้นการออกพระราชกฤษฎีกาจะขัดต่อกฎหมายแม่บทไม่ได้
การเสนอร่างพระกฤษฎีกา
ผู้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ รัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกระทรวงใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นก็เป็นผู้เสนอ เช่นพระราชกฤษฎีกา ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็เป็นผู้เสนอ เป็นต้น
การพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา
ผู้พิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี โยพิจารณาว่าพระราชกฤษฎีกานั้น มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจออกได้หรือไม่ มีข้อความใดขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่บทหรือไม่
การตราพระราชกฤษฎีกา
ผู้ตราพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เอคณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาแล้ว เห็นว่าเหมาะสมและใช้ได้ก็จะนำพระราชกฤษฎีกานั้นขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยมีรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงทลพระปรมาภิไธย เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงจะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
การจัดทำกฎกระทรวง
กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งรัฐมนตรีผู้รับการตามพระราชบัญญัติ ได้ออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ดังนั้นกฎกระทรวงจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายแม่บท
การเสนอกฎกระทรวง
ผู้เสนอกฎกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น กล่าวคือ เป็นเรื่องของกระทรวงใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นก็เป็นผู้เสนอ
การพิจารณากฎกระทรวง
ผู้พิจารณากฎกระทรวง ได้แก่ คณะรัฐมนตรี โดยจะพิจารณากลั่นกรองว่ามีข้อความใดขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทหรือขัดต่อนโยบายของรัฐบาลหรือไม่
การตรากฎกระทรวง
ผู้ตรากฎกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆ เป็นผู้ลงนามประกาศใช้
การประกาศใช้กฎกระทรวง
กฎกระทรวงที่รัฐมนตรีลงนามแล้ว เมื่อนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงจะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายนอกจากนี้ยังมีประกาศกระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีอกนาจออกได้โดยอาศัยกฎหมายแม่บทเช่นเดียวกับกฎกระทรวง แต่ไม่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงผู้รับผิดชอบเป็นผู้ลงนาม แล้วประกาศในราชกิจจนุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
การจัดทำกฎหมายท้องถิ่น
กฎหมายท้องถิ่นหรือกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง เป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง โดยออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นตนเองได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูป ซึ่งสามารถออกกฎหมายใช้บังคับในท้องถิ่นของตนเองได้ คือ
1. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เทศบาลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเทศบาลนั้น ๆ
2. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำขึ้นใช้ในเขตจังหวัดนั้น ๆ
3. ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตตำบลนั้น ๆ
4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานคร
5. ข้อบังคับเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยาจัดทำขึ้นใช้บังคับในเขตเมืองพัทยา
การศึกษาเรื่องการจัดทำกฎหมายท้องถิ่น เกี่ยวกับการเสนอ การพิจารณา การอนุมัติ และการประกาศใช้เพื่อความสะดวก เข้าใจง่าย และเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน ให้นักเรียนศึกษาจากตารางการจัดทำกฎหมายต่อไปนี้


การบังคับใช้กฎหมาย
กฎหมายที่ผ่านกระบวนการจัดทำและประกาศใช้แล้วย่อมมีผลบังคับใช้ได้ การบังคับข้อกฎหมายจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ และบุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ
วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย
วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะมีผลตั้งแต่เมื่อใดนั้น โดยทั่วไปในกฎหมายนั้นจะระบุวัน เวลา ที่กฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้ไว้ด้วย ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันกับวันที่ประกาศใช้กฎหมายก็ได้ แต่ถ้าในกฎหมายนั้นไม่ได้ระบุวันที่จะเริ่มบังคับใช้ไว้ ก็จะมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” เว้นแต่บางกรณีที่มี่ความจำเป็นจะต้องบังคับใช้ย้อนหลัง ก็จะมีการระบุไว้ชัดเจนในกฎหมายนั้นว่า ให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายอาจกำหนดได้ดังนี้
1. ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศกิจจานุเบกษา จะใช้ในกรณีรีบด่วนโดยให้กฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้กฎหมายจะต้องไปค้นดูว่าราชกิจจานุเบกษาลงประกาศวันใด ก็จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันไหนเป็นต้นไป
2. ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีปกติโดยทั่วไป วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งผู้ใช้กฎหมายจะต้องไปค้นดูว่าราชกิจจานุเบกษาลงประกาศวันใดวันถัดมากฎหมายนั้นก็จะมีผลบังคับใช้เพื่อให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าก่อน 1 วัน
3. ใช้บังคับในอนาคต ในกรณีที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือประชาชน ได้จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายจะกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดให้ระยะเวลาผ่านพ้นไประยะหนึ่ง จึงจะให้กำหมายมีผลบังคับใช้ เช่นพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องไปค้นดูราชกิจจานุเบกษาว่าลงประกาศวันใด แล้วต้องรอให้ผ่านพ้นไปอีกสิบห้าวัน กฎหมายนั้นจึงจะมีผลบังคับใช้ได้
อาณาเขนที่กฎหมายใช้บังคับ
โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับเฉพาะในอาณาเขตของรัฐนั้นหรือประเทศนั้นโดยตลอดทั่วทั้งรัฐหรือประเทศ กฎหมายจึงมีผลบังคับใช้เฉพาะในอาณาเขตประเทศไทยซึ่งเรียกว่า “ราชอาณาจักรไทย” ซึ่งหมายถึง
1.พื้นดินและพื้นน้ำในอาณาเขตประเทศไทย รวมทั้งภูเขา แม่น้ำ อุโมงค์ และใต้ดินด้วย
2.ทะเลอันห่างจากชายฝั่งที่เป็นดินแดนของประเทศไทยไม่เกิน12 ไมล์ทะเล
3.ทะเลอันเป็นอ่าวไทย
4.พื้นอากาศเหนือพื้นดินและทะเลอันเป็นอาณาเขตประเทศไทย
อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นบางกรณีเกี่ยวกับอาณาเขตกฎหมายไทยใช้บังคับคือ
กรณียกเว้นบังคับใช้ออกไปนอกราชอาณาจักร ได้แก่ การกระทำความผิดในเรือหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เช่น ความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง เช่น ปลอมเงินตรา หรือความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ซึ่งได้กระทำในทะเลหลวง ฯลฯ เป็นต้น
กรณียกเว้นไม่บังคับใช้ตลอดทั่วราชอาณาจักร อาจจะเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์ สังคม ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม เล่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล พ.ศ. 2498 ใช้บังคับเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่มีภูมิลำเนาในเขต 4 จังหวัดภาคใต้ดังกล่าว เป็นต้น
บุคคลที่กฎหมายบังคับ
โดยหลักทั่วไปกฎหมายของรัฐใดประเทศใด ย่อมจะใช้บังคับแกบุคคลทุกคนที่อยู่ในรัฐนั้นหรือประเทศนั้น กฎหมายไทยจึงมีผลใช้บังคับกับทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนสัญชาติใด เชื้อชาติใด ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นตามกฎหมายบางประเทศ ที่จะไม่ใช้บังคับกับบุคคลบางคน
ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
1. พระมหากษัตริย์ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
2. สมาชิกรัฐสภา ในระหว่างสมัยประชุมห้ามมิให้จับ คุมขังหรือหมายเรียกตัว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือในกรณีขณะกระทำความผิด ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็น สมาชิกโดยพลัน และประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้และในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมสภาวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้
ข้อยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
1. ประมุของรัฐต่างประเทศ
2. ทูตและบริวาร
3. กองทัพที่เข้ามายึดครองอาณาจักร
4. บุคคลอื่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองให้ได้รับเอกสิทธิ์และคุ้มครอง
5. บุคคลที่มีกฎหมายพิเศษให้ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง เช่น บุคคลที่ทำงานในองค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ ฯลฯ เป็นต้น
บุคคลและสถาบันผู้ใช้กฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวข้องกับบุคคลและสถาบันหลายฝ่าย ได้แก่ ราษฎร เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ อัยการ และศาลยุติธรรม
ประชาชน
ในชีวิตประจำวันของประชาชนนั้น ต้องกระทำสิ่งต่าง ๆ มากมาย การกระทำเหล่านั้นจะมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา ดังนั้นประชาชนซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย จึงเป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ได้แก ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งพัสดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่น ๆ ซึ่งมีหน้าที่สืบสวน จับกุม ป้องก้น และปราบปรามการทำความผิดในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีบทบาทหน้าที่มากที่สุด เมื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย ตั้งแต่สืบสวน จับกุม สอบสวน ตลอดจนเปรียบเทียบในคดีอาญาทั่ว ๆ ไป
พนักงานอัยการ
พนักงานอัยการ หมายถึง เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล อาจจะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่นที่มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะหมายถึงข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีทั้งปวงแทนรัฐ โดยเป็นโจทย์ในคดีอาญา ทำหน้าที่ตรวจสำนวนการสอบสวนว่ามีพยานหลักฐานพอฟ้องหรือไม่ (ผู้เสียหายอาจตั้งทนายเป็นโจทย์ฟ้องคดีเองก็ได้) ตลอดจนเป็นทนายโจทย์หรือทนายจำเลย ว่าความในคดีแพ่งคดีอาญาทั้งปวงให้ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ
ทนายความ
ทนายความ หมายถึง ผู้ที่เรียนจบวิชากฎหมายและจดทะเบียนรับอนุญาตให้มีสิทธิว่าความในศาล ทนายความเป็นอาชีพอิสระ มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงเสนอต่อศาล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายโจทย์หรือจำเลย คดีแพ่งหรือคดีอาญาก็ตามความจริงก็ไม่มีกฎหมายห้ามประชาชนผู้เป็นโจทย์หรือจำเลยไม่ให้ว่าความด้วยตนเอง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้กฎหมายลึกซึ้ง จึงจำเป็นต้องมีทนายความช่วยเหลือ บางกรณีจำเลยในคดีอาญายากจน ไม่มีเงินจ้างทนายความอาจร้องขอให้ศาลตั้งทนายว่าความให้จำเลยก็ได้ คดีประเภทนี้เรียกว่า “คดีศาลขอแรง” และทนายก็เรียกว่า “ทนายขอแรง”
ศาล
ศาล หมายถึง ศาลยุติธรรม หรือผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั่งปวง
การตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมาย หมายถึง การค้นหาความหมายของถ้อยคำในตัวบทกฎหมายเพื่อนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริง เนื่องมาจากการใช้กฎหมายครั้งอาจเกิดปัญหาว่า ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายไม่ชัดเจน เคลือบคลุมหรือมีความหมายได้หลายนัย จึงจำเป็นจะต้องมีการตีความกฎหมาย ซึ่งกระทำได้ 2 กรณี คือ การตีความตามตัวอักษร และการตีความตามเจตนารมณ์
การตีความตามตัวอักษร
การตีความตามตัวอักษร เป็นการค้นหาความหมายจากตัวอักษรของกฎหมาย มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กรณีที่เป็นภาษาสามัญ ต้องตีความหมายอย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไปตามธรรมดาสามัญ หรือให้ถือเอาตามพจนานุกรม
2. กรณีที่เป็นศัพท์วิชาการหรือศัพท์เทคนิค ต้องตีความหามายอย่างที่เข้าใจกันในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ
3. กรณีที่กฎหมายประสงค์จะให้มีความหมายพิเศษไปจากที่เข้าใจกันตามธรรมดาสามัญ ในกฎหมายนั้นจะทำบทวิเคราะห์ศัพท์หรือนิยามไว้ในมาตราแรก ๆ ก็ต้องถือเอาความหมายตามบทวิเคราะห์ศัพท์หรือนิยามนั้น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา บทนิยาม มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า “กลางคืน” หมายความว่า เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น เป็นต้น
การตีความหมายตามเจตนารมณ์
การตีความตามเจตนารมณ์ เป็นการตีความเพื่อหยั่งทราบความมุ่งหมายหรือความต้องการของกฎหมายนั้น ๆ ซึ่งมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา คือ ซึ่งของกฎหมายคำปรารภ ทนายเหตุท้ายมาตราต่าง ๆ รายงานการประชุมยกร่างกฎหมายนั้น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะบอกได้ว่า เพราะเหตุใด หรือ ต้องการอะไร จึงบัญญัติกฎหมายไว้เช่นนี้
สำหรับกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษรุนแรงถึงประหารชีวิต และกระทบกระเทือนสิทธิ เสรีภาพของประชาชน การตีความกฎหมายอาญาจึงต้องมีกฎเกณฑ์พิเศษ คือ
1. ต้องตีความโดยเคร่งครัด หมายความว่า จะถือเป็นความผิดและลงโทษผู้กระทำผิดได้ จะต้องเป็นกฎหมายระบุไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น
2. จะตีความให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลมิได้ กล่าวคือ จะตีความขยายความให้เป็นการลงโทษ หรือเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดให้หนักขึ้นไม่ได้
3. กรณีเป็นที่สงสัย จะต้องตีความในบางทีเป็นผลดีแก่ผู้กระทำความผิด กล่าวคือ ถ้าพยานหลักฐานไม่ชัดเจน ยังเป็นที่เคลือบคลุม ยังสงสัย หรือไม่แน่ใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย ถือว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งเป็นไปตามสุภาษิตทางกฎหมายที่ว่า “ปลอบคนผิดสิบคนดีกว่าการที่จะลงโทษคนบริสุทธิ์คนเดียว”
ช่องว่างของกฎหมาย
ช่องว่างของกฎหมาย หมายถึง กรณีที่ผู้ใช้กฎหมายไม่สามารถจะหาตัวบทกฎหมายปรับใช้กับดีที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ยกร่างอาจจะฉีกไม่ถึง เพราะเหตุการณ์ยังไม่เคยเกิดขึ้น จึงไม่ได้บัญญัติไว้ จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการอุดช่องว่างของกฎหมาย
การอุดช่องว่างกฎหมาย
เมื่อเกิดช่องว่างของกฎหมายนี้ ถ้ากฎหมายนั้นกำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้แล้ว จะต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 และวรรค 4 กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ว่า เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ให้ใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็ให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป ในกรณีที่กฎหมายนั้นไม่ได้กำหนดวิธีการอุดช่องว่างเอาไว้ ศาลจะต้องพยายามกาหลักเกณฑ์มาพิจารณาวินิจฉัยให้ได้เสมอ ศาลจะอ้างเหตุไม่รับฟ้องหรือยกฟ้องคดี โดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายที่จะนำมาใช้ปรับแก่คดีไม่ได้ในกฎหมายอาญานั้น ศาลอาจจะอุดช่องว่างของกฎหมายได้ ก็เฉพาะในทางที่เป็นคุณหรือเป็นผลดีแก่จำเลยเท่านั้น




การยกเลิกกฎหมาย
การยกเลิกกฎหมาย คือ การทำให้กฎหมายสิ้นสุดการบังคับใช้ ซึ่งกระทำได้ทั่งการยกเลิกโดยตรงและโดยปริยาย
การยกเลิกกฎหมายโดยตรง
เป็นกรณีที่ที่มีกฎหมายระบุให้ยกเลิกไว้อย่างชัดแจ้งมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. กฎหมายนั้นกำหนดวันยกเลิกเอาไว้เอง เช่น บัญญัติเอาไว้ว่า “พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเป็นเวลาสองปี” เมื่อครบกำหนด 2 ปี กฎหมายนั้นก็สิ้นสุดการบังคับใช้ไปเอง
2. ออกกฎหมายใหม่มายกเลิก โดยกฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมานั้นเป็นกฎหมายเรื่องเดียวกัน และมีบทบัญญัติระบุให้ยกเลิก เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มีบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 เป็นต้น
3. เมื่อรัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดเมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ถ้ารัฐสภามีมติไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็จะสิ้นสุดการบังคับใช้
การยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย
เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายใดระบุให้ยกเลิกไว้อย่างขัดแจ้ง มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. เมื่อกฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีบทบัญญัติกรณีหนึ่งเป็นอย่างเดียวกัน ให้ใช้กฎหมายใหม่ ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
2. เมื่อกฎหมายใหม่มีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า ให้ใช้กฎหมายใหม่ถือว่ากฎหมายเก่าถูกยกเลิกไปโดยปริยายทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวต้องใช้กฎหมายใหม่ เพราะเหตุว่า บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าขึ้น สถานการณ์บ้านเมืองย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายเก่าที่ใช้มาเป็นเวลานานอาจจะไม่เหมาะสมกับยุคสมัย การใช้กฎหมายใหม่ย่อมเหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่า
3. กฎหมายแม่บทยกเลิกกฎหมายบริวารถูกยกเลิกด้วย กฎหมายบริวารหรือกฎหมายลูกที่ออกมาใช้โดยอาศัยกฎหมายแม่บท เมื่อกฎหมายแม่บทถูกยกเลิก ถือว่ากฎหมายบริวารถูกยกเลิกไปโดยปริยาย

หมายเหตุ การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็ถือว่าเป็นการยกเลิกกฎหมายอีกวิธีหนึ่ง


--------------------------------------------------------------------------------

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553




ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน

ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน

ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร

โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น

การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น

กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี

ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม

สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ

สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้

กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้

(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น

กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง

ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง

1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง

1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง

การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง

ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้

ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง


การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้

1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ

ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย

ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ

ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้

(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
[แก้ไข] การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน

อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
[แก้ไข] องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย

สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
[แก้ไข] เทศบาล
เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น

1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ

2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร

3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่

องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย

1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี

2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล

3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดยประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้

อบต. ประกอบด้วย

1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้

(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ

นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ

การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร

สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน

ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร

การบริหารราชการเมืองพัทยา

จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย

สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา

ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน